เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ยมก [4. ธาตุยมก] 1. ปัณณัตติวารนิทเทส 4. สุทธธาตุมูลจักกวาร
ปฏิ. ธาตุ เป็นธัมมธาตุใช่ไหม
วิ. ธัมมธาตุ เป็นธาตุก็ใช่ เป็นธัมมธาตุก็ใช่ ธาตุที่เหลือเป็นธาตุ แต่ไม่เป็น
ธัมมธาตุ (8)
(พึงผูกเป็นจักกนัย)
ปัจจนีกะ
[17] อนุ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นจักขุ ไม่เป็นธาตุใช่ไหม
วิ. เว้นจักขุแล้ว ธาตุที่เหลือไม่เป็นจักขุ แต่เป็นธาตุ เว้นจักขุและธาตุแล้ว
สภาวธรรมที่เหลือไม่เป็นจักขุก็ใช่ ไม่เป็นธาตุก็ใช่
ปฏิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธาตุ ไม่เป็นโสตธาตุใช่ไหม
วิ. ใช่
อนุ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นจักขุ ไม่เป็นธาตุใช่ไหม
วิ. เว้นจักขุแล้ว สภาวธรรมที่เหลือไม่เป็นจักขุ แต่เป็นธาตุ เว้นจักขุและ
ธาตุแล้ว สภาวธรรมที่เหลือไม่เป็นจักขุก็ใช่ ไม่เป็นธาตุก็ใช่
ปฏิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธาตุ ไม่เป็นฆานธาตุใช่ไหม ฯลฯ
ปฏิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธาตุ ไม่เป็นธัมมธาตุใช่ไหม
วิ. ใช่
อนุ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นธาตุใช่ไหม
วิ. ใช่
อนุ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธาตุ ไม่เป็นจักขุธาตุใช่ไหม
วิ. ใช่
ปฏิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นธาตุใช่ไหม
วิ. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 38 หน้า :348 }


พระอภิธรรมปิฎก ยมก [4. ธาตุยมก] 2. ปวัตติวาร 1. อุปปาทวาร 1. ปัจจุปปันนวาร
อนุ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธาตุ ไม่เป็นโสตธาตุใช่ไหม ฯลฯ
อนุ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นธาตุ ไม่เป็นมโนวิญญาณธาตุใช่ไหม
วิ. ใช่ (9)
(พึงผูกเป็นจักกนัย)
(พึงขยายปัณณัตติวารแห่งธาตุยมกให้พิสดารเหมือนอายตนยมก)
ปัณณัตติวารนิทเทส จบ

2. ปวัตติวาร 1. อุปปาทวาร
1. ปัจจุปปันนวาร
ว่าด้วยสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน
อนุโลมบุคคล
[18] อนุ. จักขุธาตุของบุคคลใดกำลังเกิด โสตธาตุของบุคคลนั้นก็กำลังเกิด
ใช่ไหม
วิ. บุคคลผู้มีจักขุเกิดได้โสตะเกิดไม่ได้1 กำลังอุบัติ จักขุธาตุของบุคคลเหล่า
นั้นกำลังเกิด แต่โสตธาตุไม่ใช่กำลังเกิด บุคคลผู้มีจักขุและโสตะเกิดได้2 กำลัง
อุบัติ จักขุธาตุของบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดและโสตธาตุก็กำลังเกิด
ปฏิ. โสตธาตุของบุคคลใดกำลังเกิด จักขุธาตุของบุคคลนั้นก็กำลังเกิดใช่ไหม
วิ. บุคคลผู้มีโสตะเกิดได้จักขุเกิดไม่ได้กำลังอุบัติ โสตธาตุของบุคคลเหล่านั้น
กำลังเกิด แต่จักขุธาตุไม่ใช่กำลังเกิด บุคคลผู้มีโสตะและจักขุเกิดได้กำลังอุบัติ โสตธาตุ
ของบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดและจักขุธาตุก็กำลังเกิด

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะในอบายภูมิผู้มีหูหนวกมาแต่เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. 18-21/353)
2 หมายถึงสัตว์ผู้มีอายตนะบริบูรณ์ในสุคติภูมิและทุคติภูมิ และรูปพรหมผู้เป็นโอปปาติกะ (อภิ.ปญฺจ.อ.
18-21/353)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 38 หน้า :349 }